จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนสมัยใหม่ ด้วยกลยุทธ์บูรณาการซัพพลายเชน

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบโลจิสติกส์ และระบบซัพพลายเชน

ระบบโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของระบบซัพพลายเชน และทั้งสองระบบมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างใกล้ชิด ระบบซัพพลายเชนครอบคลุมตั้งแต่การจัดซื้อ การผลิต การจัดเก็บ การจัดจำหน่าย และการขนส่ง  และจำเป็นต้องมีระบบโลจิสติกส์เข้ามาเชื่อมต่อในทุกกระบวนการ เพื่อการเคลื่อนย้ายและขนส่งสินค้าจากอุตสาหกรรมต้นน้ำไปยังปลายน้ำจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคสุดท้าย

 

กระบวนการต่างๆ ในซัพพลายเชนเกี่ยวข้องกับงานหลายด้าน และไม่ได้เป็นงานที่เกิดขึ้นเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น แต่ยังอาจสัมพันธ์ไปยังองค์กรภายนอก เช่น ผู้ผลิตเอาท์ซอร์สงานขนส่งไปยังผู้ให้บริการขนส่งโดยตรง เป็นต้น และเนื่องจากงานขนส่งโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในงานสำคัญที่อยู่ในทุกกระบวนการซัพพลายเชน ธุรกิจจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์และให้ความสำคัญในการบูรณาการซัพพลายเชน (Supply Chian Integration) หรือ การเชื่อมต่อการจัดการโลจิสติกส์เข้ากับการจัดการซัพพลายเชน เพื่อให้องค์กรทั้งหมดภายในซัพพลายเชนทำงานประสานกันตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วระหว่างกันจะทำให้องค์กรมีข้อมูลเป็นพื้นฐานสำหรับการทำงานและการตัดสินใจที่แม่นยำ

การจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์มีความสำคัญอย่างไรในซัพพลายเชน

การจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์มีความสำคัญต่อการจัดการซัพพลายเชนเป็นอย่างมาก โดยมีหน้าที่สำคัญ คือ การวางแผน ปฏิบัติงาน และควบคุมการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าให้ไหลไปอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นทางจนถึงมือผู้บริโภคสุดท้าย ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย คือ การขนส่งที่รวดเร็วตรงเวลา ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายให้ต่ำที่สุด และบริหารจัดสรรทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าสูงสุด

NOSTRA LOGISTICS TMS หนึ่งกลยุทธ์สำคัญสำหรับบูรณาการซัพพลายเชน

ความพร้อมของเทคโนโลยีปัจจุบันทั้ง Cloud Computing และ IoT ทำให้การเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างการจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเขนเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก เช่น รับและส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถขนส่งไปยังระบบสารสนเทศได้ทันทีแบบเรียลไทม์ จัดเก็บข้อมูลการขนส่งบนระบบคลาวด์และใช้งานผ่านแอปพลิเคชันผ่านอินเทอร์เน็ตโดยผู้ใช้งานเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา หรือแม้แต่การส่งข้อมูลจากระบบบริหารงานขนส่ง TMS ไปยังระบบไอทีอื่น เช่น Enterprise Resource Planning (ERP) และ Warehouse Management System (WMS)  เพื่อเชื่อมต่อการทำงานตลอดซัพพลายเชน

NOSTRA LOGISTICS TMS (Transportation Management System) เป็นเครื่องมือสำคัญของระบบงานขนส่ง เพื่อการวางแผนและจัดการการขนย้ายสินค้าตลอดโลจิสติกส์ซัพพลายเชน โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางช่วยควบคุมการขนส่ง และรับ-ส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่จากขนส่งจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงานผลิต ไปยังคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า และจนกระทั่งถึงมือลูกค้าปลายทาง ข้อมูลตลอดการทำงานขนส่งสามารถนำมาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ได้อีกมาก เช่น วิเคราะห์ความสามารถของรอบการขนส่งแต่ละรอบ ติดตามสถานะสินค้าและรถขนส่ง เปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายจากแผนงานและที่ใช้จริง ตลอดจนประเมินสถานการณ์การขนส่งเพื่อให้บริการลูกค้า

นอกจากนี้ สามารถเชื่อมต่อระบบ NOSTRA LOGISTICS TMS เข้ากับระบบงานหรือระบบไอทีอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อรับ-ส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทำให้สามารถจัดการและตรวจสอบข้อมูลการขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้า รวมถึงข้อมูลการเงินการบัญชี การขาย การซ่อมบำรุงรถ ฯลฯ และส่งต่อข้อมูลไปทำงานกับกิจกรรมอื่นๆ ในซัพพลายเชน  โดยเฉพาะระบบสำคัญอย่าง ERP และ WMS เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสนับสนุนการทำงานได้ครอบคลุมทั้งระบบซัพพลายเชน

NOSTRA LOGISTICS พันธมิตรทางธุรกิจชั้นนำด้านการให้บริการเทคโนโลยีซัพพลายเชนอัจฉริยะ เราพร้อมสนับสนุนเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และโซลูชันด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีความครอบคลุมกิจกรรมการขนส่ง และสามารถเชื่อมต่อไปยังซัพพลายเชนได้โดยสะดวก ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

สามารถอ่านบทความ เปิดฟังก์ชัน NOSTRA LOGISTICS TMS และ กลยุทธ์การจัดการตลอดซัพพลายเชนให้เป็นเรื่องง่ายด้วยระบบ TMS

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่  www.nostralogistics.com/tms/

หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ nostralogistics@cdg.co.th โทรศัพท์ 02-678-0963  ต่อ 3714

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th