ประเมิน Carbon Footprint ลดมลพิษจากกิจกรรมด้านการเดินทางและการขนส่ง

          การเดินทางและการขนส่งเป็นกิจกรรมที่ใช้นำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก จึงถือเป็น 1 ในกิจกรรมหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas – GHG)  โดยที่ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และภาคธุรกิจ และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ธุรกิจต่าง ๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่แตกต่างกันออกไปตามกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร ธุรกิจภาคการขนส่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับ 2 รองจากภาคพลังงาน และยังเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขยายตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันภาคการขนส่งเริ่มปรับตัวเชิงบวกต่อการจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ใช้น้ำมันสะอาดเพิ่มขึ้น จัดการการขนส่งที่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น การบำรุงรักษาเครื่องยนต์เพื่อให้การเผาไหม้เชื้อเพลิงสะอาดขึ้น และเริ่มมีมาตรการสำหรับการลดมลพิษ นับเป็นความท้าทายในการมุ่งสู่ Net Zero Emission ในปี 2065

คำนวณค่า Carbon Footprint กิจกรรมการขนส่ง

          คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ (Greenhouse gas emissions and removals) หากปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ เรียกว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint for Product) หรือ ปล่อยจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร เรียกว่า  คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) โดยการวัดและรายงานผลจะแสดงในรูปของตันหรือกิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tonCO2 eq หรือ kgCO2 eq)

          การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมี 3 ประเภท (Carbon Emission Types) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งขององค์กรจัดอยู่ในประเภทที่ 1 และประเภทที่ 3 เป็นกลุ่มกิจกรรมการเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ได้ ดังนี้

ประเภทที่ 1 (ทางตรง) ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินทางและขนส่งด้วยยานพาหนะประเภทต่าง ๆ ขององค์กรเอง

ประเภทที่ 3 (ทางอ้อม) ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเดินทางและขนส่งด้วยรถสาธารณะ หรือ รถส่วนตัวของบุคลากร หรือ รถของเอาท์ซอร์ส

            ทั้ง 2 ประเภทใช้สมการการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบเดียวกัน คือ

กรณีทราบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง

ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้
x
ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง

กรณีที่ไม่ทราบปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง

1.
ระยะทาง x น้ำหนักบรรทุก
x ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามประเภทของรถที่ใช้ หรือ

2.
ระยะทาง/อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
x ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง

          ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) คือ ค่าที่แสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วย 

สำหรับกิจกรรมการเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ มีตารางค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก* (Emission Factor) แบ่งตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้

ที่มา: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), เมษายน 2565 ดูข้อมูล Emission Factor ทั้งหมดได้ที่ คลิก

ตัวอย่างการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งขององค์กร

ตัวอย่าง การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร A จากกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งขององค์กรใน 1 ปี

          จากตาราง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร A ที่เกี่ยวกับกิจกรรมการเดินทางและการขนส่งทั้งประเภทที่ 1 และ 3 มีปริมาณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรเท่ากับ 65,416.52 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2 eq) หรือ 65.42 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tonCO2 eq)

          สำหรับองค์กรที่ใช้ระบบบริหารจัดการงานขนส่ง (NOSTRA LOGISTICS TMS) หรือ ระบบติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking) สามารถใช้ข้อมูลปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงจากการวิ่งงานของรถแต่ละคัน ซึ่งจัดเก็บอยู่ในระบบ NOSTRA LOGISTICS มาคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามตัวอย่างสมการข้างต้นได้เช่นกัน รวมถึงมีระบบจัดการงานซ่อมบำรุง (NOSTRA LOGISTICS MMS) ที่ใช้ตรวจเช็คสภาพพาหนะและรอบบำรุงรักษาให้พาหนะขนส่งเพื่อช่วยลดการปล่อยมลพิษ ประโยชน์ในการจัดทำการประเมิน Carbon Footprint เช่น  กำหนดเป้าหมายหรือ KPI เพื่อควบคุมการลดใช้น้ำมันและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างตรงจุด บริหารจัดการการวิ่งรถขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการลดต้นทุนและลดการใช้ทรัพยากรให้แก่องค์กร และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสทางธุรกิจในอนาคต รวมทั้งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมนำไปสู่ความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจ

          นอกจากนี้ องค์กรยังสามารถศึกษาแนวทางการจัดทำการประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CFObyTGO)

 

เลือกพันธมิตรเทคโนโลยีงานขนส่งที่คุณวางใจได้

        NOSTRA LOGISTICS ผู้ให้บริการโซลูชันและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีด้านการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transportation Platform) และระบบบริหารจัดการงานขนส่ง TMS พันธมิตรทางธุรกิจและเทคโนโลยีสำหรับงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีในการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศด้านโลจิสติกส์และการบูรณาการระบบ พร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญในการสร้างโซลูชันที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการปัญหาด้านการขนส่งสำหรับองค์กรทุกขนาด

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

NOSTRA LOGISTICS TMS จัดสรรทรัพยากรขนส่งและวางแผนเส้นทาง ด้วย Resource Optimization & VRP

การบริหารจัดการทรัพยากรการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ พลังงาน ฯลฯ รวมไปถึงงบประมาณการเงินที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สร้างผลผลิตหรือบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุดและดีที่สุด เป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Read More »

เพิ่มประสิทธิภาพและควบคุมจัดการตู้คอนเทนเนอร์ด้วย NOSTRA LOGISTICS TMS for Container Management Solution

การขนส่งผ่านระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวก เนื่องจากสามารถเปลี่ยนถ่ายพาหนะโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าหรือภาชนะบรรจุ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นการนำเข้า-ส่งออกสินค้า นิยมขนส่งผ่านทางเรือโดยใช้การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นหลัก

Read More »

NOSTRA LOGISTICS TMS เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง Last-Mile Logistics และ e-Commerce

ความต้องการอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สร้างแรงกดดันด้านการจัดส่งสินค้า ทั้งส่วนของผู้ผลิตสินค้า 1PL ก็มีการขยายการขายสินค้า จากการค้าส่งเป็นค้าปลีก โดยจัดส่งสินค้าตรงถึงผู้บริโภค รวมถึงผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ทั้ง 2PL และ 3PL เพราะการสั่งสินค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซนั้น

Read More »

8 จุดเด่น NOSTRA LOGISTICS ePOD บริหารงานจัดส่งแบบมืออาชีพในยุคออนไลน์

ระบบ ePOD ไม่ใช่ของใหม่ในงานโลจิสติกส์ แต่เป็นระบบที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานการบริการขนส่งในปัจจุบัน เพราะ ePOD จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในขั้นตอนการบริหารจัดการงานจัดส่ง การติดตามหลักฐานการจัดส่ง ไปจนถึงบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างขนส่ง

Read More »

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

02-678-0963

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th