Seamless Integration เทคโนโลยีเชื่อมต่อระบบ TMS, ERP และ WMS กุญแจสำคัญเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการซัพพลายเชน

           Supply Chain Management – SCM การจัดการซัพพลายเชน หรือ ห่วงโซ่อุปทาน เป็นการจัดการกระบวนการของสินค้าและบริการครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ การกระจายสินค้า การขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค หลายองค์กรปรับตัวใช้การบริหารจัดการด้วยแนวคิด SCM เพื่อให้สามารถควบคุมและเชื่อมโยงข้อมูลและการสื่อสารจากบริษัทต่าง ๆ ภายในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะให้สามารถลดต้นทุนส่วนเกินและส่งมอบสินค้าได้รวดเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับการดำเนินงานและเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด

3 เทคโนโลยีสำคัญ สำหรับการจัดการซัพพลายเชน

          การจัดการซัพพลายเชนให้สามารถดำเนินงานประสานกันได้อย่างคล่องตัว จำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบในการจัดการ เพราะข้อมูลการดำเนินงานกระจายอยู่ในทุก ๆ กระบวนการ ระบบสารสนเทศจะช่วยให้สามารถมองเห็นภาพรวมของระบบได้ทั้งหมด ทั้งนี้ เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการซัพพลายเชน ประกอบด้วย 3 ระบบหลักที่มีบทบาทความสำคัญแตกต่างกัน

  1. ระบบจัดการและวางแผนทรัพยากร (Enterprise Resource Planning – ERP) ใช้จัดการการบัญชีและการออกใบแจ้งหนี้ การจัดการคำสั่งซื้อ และการจัดการสินค้าคงคลัง
  2. ระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System – WMS) ใช้จัดการคำสั่งซื้อ จัดส่ง และรับสินค้าในคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้า ติดตามข้อมูลสินค้าคงคลัง และอัปเดตข้อมูลสินค้าคงคลังไปยังระบบ ERP
  3. ระบบการบริหารจัดการการขนส่ง (Transportation Management System – TMS) ใช้จัดการการขนส่ง เช่น ค้นหาและเปรียบเทียบราคาและบริการของผู้ให้บริการขนส่งที่มีเพื่อจัดส่งคำสั่งซื้อของลูกค้า จองการจัดส่ง และติดตามความเคลื่อนไหวจนถึงการจัดส่งเสร็จสิ้น และสรุปต้นทุนที่เกิดจากการขนส่ง

การจัดการขนส่ง หัวใจสำคัญของการจัดการซัพพลายเชน

        Transportation Management System – TMS เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการขนส่ง ทำให้การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือสินค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางเป็นไปอย่างราบรื่น จึงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับระบบ ERP และ WMS

          โดยพื้นฐานแล้ว TMS จะจัดเก็บข้อมูลผู้ให้บริการขนส่ง เพื่อใช้ในการคัดเลือกผู้ให้บริการและยานพาหนะอย่างเหมาะสม โดยจะต้องเชื่อมต่อระบบหรือนำเข้าข้อมูลของผู้ให้บริการขนส่ง ทำให้ TMS เป็นระบบที่สามารถวางแผนงานขนส่งและเส้นทางวิ่งรถ ตรวจสอบและควบคุมการดำเนินการ ติดตามการจัดส่งสินค้า พร้อมจัดเก็บและจัดการข้อมูลการทำงานทั้งหมด

          TMS อาจจะเป็นโมดูลหนึ่งภายในระบบ ERP หรือ อาจจะแยกเป็นซอฟต์แวร์แบบ stand alone ก็ได้ แต่จะทำงานเชื่อมต่อกัน โดยจะมีคำสั่งซื้อจาก ERP หรือ โปรแกรมจัดการคำสั่งซื้อมาที่ TMS เพื่อจัดการการขนส่ง และ TMS ยังสามารถทำงานร่วมกับระบบ WMS โดยประสานงานในส่วนของการรับสินค้าจากคลังสินค้าเพื่อส่งมอบแก่ลูกค้าให้รวดเร็วมากที่สุด

          ดังนั้น ระบบ ERP, WMS และ TMS จึงต้องทำงานสัมพันธ์และเชื่อมต่อกัน เพื่อการจัดการซัพพลายเชนตลอดกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Seamless Integration เชื่อมโยงไร้รอยต่อ เพื่อการจัดการซัพพลายเชน

          เมื่อระบบ ERP, WMS และ TMS จำเป็นต้องรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกัน ดังนั้น การจัดการระบบให้สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างราบรื่นและอัพเดทมากที่สุดจึงยิ่งมีความสำคัญ

            Seamless Integration คือ เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม ระบบ หรือแอปพลิเคชันที่ต่างกันให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกราบรื่น โดยมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยฮารด์แวร์ ซอฟต์แวร์ เน็ตเวิร์ก และข้อมูล ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่สนับสนุนการบูรณาการระบบได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น เทคโนโลยี Could Computing ทำให้รับและส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบทำได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งยังสามารถส่งต่อข้อมูลระหว่างระบบได้ง่ายด้วยเทคโนโลยี API ช่วยบูรณาการระบบและจัดการข้อมูลแบบ end-to-end เช่น เชื่อมต่อการจัดการคำสั่งซื้อของลูกค้าระหว่าง ERP, WMS และ TMS และใช้ข้อมูลเพื่อดำเนินการในแต่ละระบบ เป็นต้น

ประโยชน์ของ Seamless Integration

  • Improved Operational Efficiency ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนการนำเข้าข้อมูลและลดความผิดพลาดจากข้อมูลที่ไม่ตรงกัน
  • Enhanced Data Security จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ลดความเสี่ยงข้อมูลสูญหาย
  • Increased Agility and Flexibility มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดโมดูลของระบบ
  • Cost Reduction ลดค่าใช้จ่ายการจัดการข้อมูลและการบำรุงรักษาระบบ
  • Better Customer Experience ปรับปรุงกระบวนการให้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น เพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้า
Seamless Integration

          Seamless Integration จึงเป็นกุญแจสำคัญของการจัดการซัพพลายเชนระหว่างระบบหลักทั้ง 3 ระบบ คือ ERP, WMS และ TMS และเป็นเทคโนโลยีการบูรณาการระบบนิเวศทางธุรกิจระหว่างองค์กรธุรกิจ ซัพพลายเออร์ ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้อง เท่าที่จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลกัน ทำให้มีข้อมูลที่โปร่งใส ต่อเนื่อง ติดตามได้แบบเรียลไทม์ ทำให้แต่ละองค์กรสามารถติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องและดำเนินงานได้อย่างราบรื่น

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

ยกระดับการบริหารงานขนส่งและโลจิสติกส์บนระบบ TMS ด้วยข้อมูลแผนที่และเทคโนโลยี GIS

การบริหารจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ยุคใหม่ ต้องการมากกว่าแค่การติดตามตำแหน่งรถและสถานะของงานขนส่ง ความต้องการลดต้นทุนการขนส่งและความซับซ้อนในซัพพลายเชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่างต้องปรับตัวและใช้โซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มากยิ่งขึ้น

Read More »

Asset Tracking in Transportation ติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง เพิ่มประโยชน์การใช้งาน และมูลค่าสินทรัพย์

ทุกธุรกิจมีสินทรัพย์ที่มีค่า การจัดการสินทรัพย์ คือ กระบวนการดูแลสินทรัพย์ของบริษัทให้สามารถใช้งานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มมูลค่าแก่สินทรัพย์ งานขนส่งก็เช่นกัน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถบรรทุกขนส่ง รถหัวลาก หางรถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ ฯลฯ ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญในการปฏิบัติงานขนส่งและขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าและมั่นคง

Read More »

NOSTRA LOGISTICS TMS จัดสรรทรัพยากรขนส่งและวางแผนเส้นทาง ด้วย Resource Optimization & VRP

การบริหารจัดการทรัพยากรการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ พลังงาน ฯลฯ รวมไปถึงงบประมาณการเงินที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สร้างผลผลิตหรือบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุดและดีที่สุด เป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Read More »

เพิ่มประสิทธิภาพและควบคุมจัดการตู้คอนเทนเนอร์ด้วย NOSTRA LOGISTICS TMS for Container Management Solution

การขนส่งผ่านระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวก เนื่องจากสามารถเปลี่ยนถ่ายพาหนะโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าหรือภาชนะบรรจุ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นการนำเข้า-ส่งออกสินค้า นิยมขนส่งผ่านทางเรือโดยใช้การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นหลัก

Read More »

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th