สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ด้วยกลยุทธ์ Ecosystem

            ปัจจุบัน การทำธุรกิจที่ดำเนินแต่เพียงผู้เดียวแบบดั้งเดิมไม่ใช่ทางเลือกที่ดีอีกต่อไป ทางรอดขององค์กรยุคใหม่ในการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน คือ ธุรกิจต้องสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและลดความเสี่ยงลง เช่น การสร้างคู่ค้าหรือพันธมิตร (Partners) ที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจด้วยการทำธุรกิจแบบระบบนิเวศ

รู้จักระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem)

             ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) คือ รูปแบบโมเดลทางธุรกิจและกลยุทธ์รูปแบบใหม่ ซึ่งออกแบบโครงสร้างการดำเนินธุรกิจให้มีสินค้าและบริการที่ครบถ้วน ครบวงจร และเชื่อมโยงภายใต้เครือข่ายเดียวกัน เป้าหมายคือเพื่อให้ลูกค้าเกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่องและยังคงอยู่ภายใต้สินค้าและบริการของธุรกิจตลอดเครือข่าย

            ความสำคัญและองค์ประกอบของการทำธุรกิจแบบ Ecosystem ไม่ใช่แค่การเพิ่มประสิทธิภาพภายในธุรกิจหลักขององค์กร หรือในซัพพลายเชนขององค์กรเท่านั้น แต่ต้องมองไปถึงภาพรวมทั้งระบบนิเวศที่อยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์เกื้อกูลกัน เช่น กลุ่มธุรกิจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แรงงาน องค์กรภาครัฐ นโยบายกฎเกณฑ์ และผู้บริโภค

             การจัดรูปแบบ Ecosystem ขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจแต่ละประเภท หากองค์กรธุรกิจใดมีทรัพยากรมากเพียงพอ อาจจะสร้างทรัพยากรทางธุรกิจและสินค้าและบริการต่าง ๆ ขึ้นมาเอง และให้ลูกค้าใช้บริการจากเครือข่ายที่สร้างขึ้นมาภายใต้ระบบนิเวศทางธุรกิจขององค์กร (Ecosystem Corporate) หรือ องค์กรธุรกิจเลือกสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่ใช้การร่วมมือกับพันธมิตร (Ecosystem Partnerships)  เพื่อทำการค้าร่วมกัน ช่วยยกระดับศักยภาพการทำธุรกิจให้เพิ่มมากขึ้น ขยายตลาดและลดความเสี่ยงในการดำเนินการเอง และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สังคม ได้ทันต่อเวลาและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

           ประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับจากระบบ Ecosystem คือ เพิ่มกำลังการแข่งขันและการเติบโตในอุตสาหกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การประหยัดต้นทุนด้านทรัพยากรจากการใช้งานร่วมกันให้ได้ประโยชน์สูงสุด  ตลอดจนการเปิดโอกาสใหม่ในตลาด การแชร์ความเสี่ยง การนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลายมากขึ้น  

สร้างพันธมิตรระบบ Ecosystem สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์

 

            การสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ หรือ Ecosystem ควรเริ่มจากคำถามที่ว่า ใครเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางธุรกิจของคุณ? และ คุณกับพันธมิตรจะร่วมมือกันสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนได้อย่างไร

          ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หรือ พาณิชยกรรมออนไลน์ เป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตที่สำคัญของธุรกิจขนส่ง เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธุรกิจจัดเก็บและบริหารคลังสินค้า และธุรกิจขนส่งพัสดุ หรือ ธุรกิจขนส่งอาหารก็เป็นห่วงโซ่สำคัญของธุรกิจอาหาร รวมถึงธุรกิจให้บริการเทคโนโลยีผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น บริการซื้อขายออนไลน์ (e-Market place) บริการรับส่งพัสดุหรืออาหาร (On-demand delivery) และบริการธุรกรรมทางการเงิน (Online payment) ก็เข้ามาเป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศทางธุรกิจด้วยเช่นกัน

          ดังนั้น เมื่อธุรกิจที่มีความส้มพันธ์เกื้อกูลกันร่วมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจด้วยกันจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจและสร้างการได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้การสร้าง Ecosystem ประสบความสำเร็จได้ คือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้บริโภค เพื่อเกิดความพึงพอใจและจงรักภักดีต่อแบรนด์ จะทำอย่างไรให้การดำเนินงานภายในระบบนิเวศทางธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น และผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อสินค้าและบริการ เป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาแนวทางและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วย เพื่อให้การทำธุรกิจยั่งยืนและป้องกันการคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่

ติดตาม บทความต่อเนื่อง เทคโนโลยีดิจิทัล บทบาทสำคัญในการบูรณาการระบบ Ecosystem ตัวอย่างธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ในสัปดาห์ถัดไป

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th