Data-Driven Decision Making : ใช้ข้อมูลเพื่อบริหารงานขนส่งอย่างชาญฉลาด

รู้จัก Data Insight เพื่อสร้างกลยุทธ์บริหารงานขนส่ง

       องค์กรสมัยใหม่ต่างรู้ดีว่าควรใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big Data ที่จัดเก็บได้ให้มากที่สุด เพราะข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า เช่น การวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและใช้ข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริง (Facts) ที่สั่งสมมาเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเลือกทางที่มีผลลัพธ์ดีที่สุด หรือ ใช้เงินลงทุนหรือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ดังนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าการมีข้อมูล คือ การตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูล โดยรู้จักใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ด้วยการหาความหมายสำคัญที่ซ่อนอยู่ (Insight) ใช้การวิเคราะห์ ประเมินและตีความหมาย และหาผลลัพธ์ เพื่อสร้างมูลค่าจากข้อมูลนี้ ทำให้องค์กรสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้

How to Use Data in Business

        การใช้เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำให้ได้รับข้อมูล Big data จำนวนมหาศาล เทคโนโลยีระบบบริหารจัดการงานขนส่ง หรือ Transportation Management System (TMS) ก็เช่นกัน จากการทำงานในแต่ละวันที่มีออเดอร์สินค้าและใบงานขนส่ง รวมถึงมีรถขนส่งวิ่งงานหลายสิบหลายร้อยคันเป็นเวลาหลายชั่วโมง เกิดเป็นข้อมูลสินค้าที่จัดส่ง ข้อมูลการวิ่งรถ ข้อมูลการใช้งานรถ ข้อมูลพฤติกรรมการขับรถ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเราสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อบริหาร วางแผน หรือปรับปรุงการทำงานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ในอนาคตแก่ธุรกิจได้

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก Data ในระบบ NOSTRA LOGISTICS TMS

Data Analytics

       Data ในระบบ NOSTRA LOGISTICS TMS เป็นข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่ได้มาจากหลายแหล่งข้อมูล เช่น ระบบ WMS ส่งข้อมูลออเดอร์สินค้าที่ต้องจัดส่งมายังระบบ TMS นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับรถ คนขับรถ และข้อมูลอื่นๆ ที่นำเข้าเองโดยผู้ดูแลงานขนส่ง รวมถึงข้อมูลจากอุปกรณ์ GPS และอื่นๆ ที่ติดตั้งภายในรถขนส่งซึ่งทำหน้าที่ติดตามรถและส่งข้อมูลมาที่ระบบ TMS เพื่อใช้บริหารจัดการงานขนส่ง ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผ่านการทำ Data Analytics เช่น

Choosing a transportation vehicle

1. การเลือกใช้รถขนส่ง

ข้อมูลออเดอร์สินค้าและใบงานขนส่งในแต่ละช่วงเวลาจะทำให้ประเมินได้ว่า ในช่วงเวลานั้นส่วนใหญ่แล้วมีงานขนส่งสินค้าประเภทใดมาก-น้อย ปลายทางการจัดส่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไหน มีจำนวนหรือปริมาณเฉลี่ยแล้วเท่าไร เมื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ ผู้ดูแลงานขนส่งจะสามารถตัดสินใจบริหารการใช้รถขนส่งในแต่ละช่วงเวลาได้ว่า ควรเพิ่มหรือลดการใช้รถประเภทไหน มากน้อยเท่าไร รวมถึงตัดสินใจได้ว่า ควรวิ่งงานขนส่งเองทั้งหมด หรือจ้างเอาท์ซอร์ส หรือสร้างพันธมิตรกับบริษัทคู่ค้า เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะและปริมาณงานที่มีในแต่ละช่วงเวลา

การเลือกคนขับรถ หรือ รถของเอาท์ซอร์ส:

2. การเลือกคนขับรถ หรือ รถของเอาท์ซอร์ส

ข้อมูลประวัติการวิ่งรถ จะทำให้เห็นว่า รถคันไหนทำงานจัดส่งได้ตรงเวลา หรือมีพฤติกรรมการขับรถที่ดี หรือแม้แต่ชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันของคนขับ ก็เป็นข้อมูลเพื่อให้ผู้ดูแลงานขนส่งตัดสินใจเลือกใช้รถและคนขับรถที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกบริการจากเอาท์ซอร์สที่ทำงานได้ดีที่สุด

3. การกำหนด KPI จากพฤติกรรมการขับรถ

ข้อมูลพฤติกรรมการขับรถที่เก็บได้จากอุปกรณ์ติดตาม ทำให้เห็นข้อมูลชัดเจนระบุได้ว่า พนักงานขับรถคนไหนมีพฤติกรรมขับขี่ที่เสี่ยงอันตราย ผู้ดูแลงานขนส่งสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการพูดคุยกับคนขับรถ และกำหนด KPI หรือบทลงโทษที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงการทำงานและลดความเสี่ยงอันตราย

การกำหนดเวลาบำรุงรักษารถ

4. การกำหนดเวลาบำรุงรักษารถ

ข้อมูลประวัติการใช้งานรถจากการวิ่งงานในแต่ละวัน จะช่วยให้ผู้ดูแลงานซ่อมบำรุงรถสามารถประเมินเวลาที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุงรถ เช่น ตามระยะทาง ระยะเวลา จากการใช้งานรถจริง

5. การคาดการณ์ปัญหาก่อนรถเสียหาย

ข้อมูลประวัติงานซ่อมบำรุงรถ จะทำให้วิเคราะห์และประเมินล่วงหน้าได้ว่า อุปกรณ์หรือรถคันไหนที่เสียบ่อยและอาจพบปัญหาได้อีกถ้าไม่มีการแก้ไข ดังนั้น ผู้ดูแลงานซ่อมบำรุงสามารถพิจารณาเปลี่ยนอุปกรณ์หรือซ่อมแซมก่อนที่จะเสียหายมากขึ้นและทำให้เสียโอกาสในการใช้รถวิ่งงาน

เห็นได้ว่าเมื่อมีข้อมูลจำนวนมากและหา Insight ของข้อมูลเหล่านี้ได้ องค์กรจะสามารถใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากกว่า การพิจารณาด้วยวิจารณญาณหรือสัญชาตญาตที่ไม่ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ทำให้ธุรกิจทำงานได้ประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในที่สุด

สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่  www.nostralogistics.com/tms

หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ nostralogistics@cdg.co.th โทรศัพท์ 02-678-0963  ต่อ 3714

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th