NOSTRA LOGISTICS ผ่าเทรนด์เทคโนโลยีโลจิสติกส์ แนะธุรกิจค้าปลีกใช้เทคโนโลยี ตอบโจทย์ห่วงโซ่อุปทานยุคดิจิทัล

นอสตร้า โลจิสติกส์ ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน NOSTRA LOGISTICS ePOD ระบบติดตามการขนส่งบนสมาร์ทโฟนแบบเรียลไทม์ เผยอีคอมเมิร์ซเติบโตรวดเร็ว รับอุปสงค์ผู้บริโภคปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทานผันผวน ชี้ธุรกิจค้าปลีกควรเร่งปรับตัว เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการที่หลากหลายในราคาประหยัดและการจัดส่งรวดเร็ว แนะผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทำความเข้าใจ 4 แนวโน้มที่ส่งผลกระทบห่วงโซ่อุปทาน พร้อมเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภูมิทัศน์ โลจิสติกส์ค้าปลีกในปัจจุบัน

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า โลจิสติกส์เป็นหัวใจสำคัญในทุกธุรกิจและมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2563 ที่ผ่านมา โลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการค้าปลีกเป็นธุรกิจเติบโตและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ยุคอีคอมเมิร์ซที่มีความผันผวนของ อุปสงค์ผู้บริโภค ซึ่งมีความต้องการสินค้าที่หลากหลายในราคาประหยัดพร้อมการจัดส่งรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ ต้องปรับตัวพร้อมรับความท้าทาย และเทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการจัดการโลจิสติกส์ในธุรกิจค้าปลีก ที่ช่วยให้การบริหารการไหลเวียนของสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทั้งยังควบคุมต้นทุนให้ต่ำที่สุด เมื่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการตลาดเปลี่ยนแปลงไป งานในส่วนโลจิสติกส์ตั้งแต่คลังสินค้าไปจนถึงการขนส่ง กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของการขับเคลื่อนห่วงโซ่อุปทาน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกช่องทาง โดยผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและผู้ให้บริการโลจิสติกส์จำเป็นต้องทำความเข้าใจแนวโน้ม 4 ประการ ที่ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภูมิทัศน์ของโลจิสติกส์ค้าปลีก ประกอบด้วย

Digital Transformation for Supply Chain Management: เปลี่ยนสู่เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ระบบอีโลจิสติกส์ (E-Logistics) จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบซัพพลายเชนต่อไปในอนาคต เพื่อจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ และสอดรับกับกระแสปรับเปลี่ยนสู่สังคมเศรษฐกิจแบบดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ให้ทำงานสนับสนุนกันบนแพลตฟอร์มเดียวตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ รวมถึงการเชื่อมต่อระบบอีโลจิสติกส์เข้ากับแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ และใช้ Mobile application เพื่อเชื่อมโยงลูกค้าปลายทาง (Retail customer) ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ ทั้งส่วนการผลิต คลังสินค้า การซื้อ-ขาย การเงิน และการขนส่ง จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันได้สะดวกและรวดเร็วแบบเรียลไทม์ โดยผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และลูกค้าปลายทางสามารถเห็น Demand และ Supply ของสินค้าได้ในทันที หรือแม้แต่กระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีการซื้อ-ขาย ตลอดจนการจัดส่งสินค้าจนถึงมือลูกค้า
E-Logistics for E-Commerce: เชื่อมโยงระบบอีโลจิสติกส์เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจค้าปลีกจำนวนมากใช้วิธีการตลาดแบบ Omni-Channel เพื่อผสมผสานช่องทางจัดจำหน่ายทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน ซึ่งการซื้อขายทั้งสองรูปแบบล้วนต้องใช้การขนส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้า ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลหรือระบบอีโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ในระบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เพื่อจัดส่งถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และตรวจสอบได้ การจัดการโลจิสติกส์จะต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานระบบอีคอมเมิร์ซ ที่ประกอบด้วย แพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ (E-Marketplace) ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และระบบอีโลจิสติกส์ (E-Logistics)
Warehousing and Transportation in Retail Logistics: คลังสินค้าและการขนส่งในโลจิสติกส์การค้าปลีก ความต้องการการจัดส่งที่รวดเร็วมากขึ้นทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกต้องมีความคล่องตัว เปลี่ยนแปลงโลจิสติกส์ คลังสินค้าและการขนส่งอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันมีบริการคลังสินค้าขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่ครอบคลุมพื้นที่จัดส่งเพื่อการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคได้สะดวกและรวดเร็วสอดคล้องความจำเป็นของการค้าสมัยใหม่ อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลังสินค้าและให้บริการพิเศษอื่น ๆ เช่น บรรจุหีบห่อและการจัดส่งถึงปลายทาง ด้านผู้ให้บริการขนส่งมีบริการรถขนส่งขนาดเล็กสามารถกระจายการจัดส่งได้ทั่วถึง ประหยัดต้นทุน และคล่องตัวรวดเร็ว ใช้ระบบ GPS หรือ ePOD ติดตามสถานะการขนส่ง กล้องวิดีโอออนไลน์ช่วยควบคุมพฤติกรรมการขับรถเพื่อประหยัดน้ำมันและลดการเกิดอุบัติเหตุ สำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนาดเล็กทยอยปรับตัวใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อสามารถรับจ้างช่วงต่อหรือเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการรายอื่น ๆ เช่น การใช้ระบบ GPS ติดตามรถ ระบบ ePOD ติดตามพนักงานจัดส่ง และระบบ RFID เพื่อใช้ติดตามสินค้าและความสะดวกในการกระจายสินค้า รวมถึงสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานทั้งหมดเข้าด้วยกันในระบบซัพพลายเชน
Combining Offline and Online Retail: ผสานโลกค้าปลีกออฟไลน์และออนไลน์ ขณะนี้ธุรกิจค้าปลีกต่างมองหาโอกาสในการขยายตลาดและสร้างรายได้ ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ที่มีการผสมผสานระหว่างโลกการค้าปลีกออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งเทคโนโลยีใหม่พร้อมสนับสนุนและเชื่อมต่อกัน เช่น การทำร้านค้าหรือตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ลูกค้าให้เลือกซื้อจากหน้าร้านหรือทางออนไลน์และรอการจัดส่งถึงบ้าน ปัจจุบันเทคโนโลยีตอบโจทย์ ได้แก่ การใช้ระบบ ePOS และ ePOD ในรถขายสินค้าเคลื่อนที่ หรือที่เรียกว่า หน่วยรถเงินสด (Cash Van) ตั้งแต่ระบบการคิดเงิน การเช็ค-ตัดสต็อคสินค้า การจัดโปรโมชั่น การสั่งซื้อสินค้า และการจัดส่งสินค้า สามารถเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ในรูปแบบดิจิทัลและใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจและร้านค้าได้ต่อไป
“เทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดรูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ สร้างตลาดและบริการใหม่มากมาย การยอมรับและปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเข้าสู่ยุคอีคอมเมิร์ซและการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ จะตอบโจทย์ธุรกิจค้าปลีกและโลจิสติกส์” นางวรินทร กล่าวทิ้งท้าย

ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจขนส่งที่สนใจ สามารถติดต่อฝ่ายขายของบริษัทหรือ
ข้อมูลเพิ่มเติมที่  www.nostralogistics.com หรือ โทรศัพท์ 02-678-0963  ต่อ 3714

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

ยกระดับการบริหารงานขนส่งและโลจิสติกส์บนระบบ TMS ด้วยข้อมูลแผนที่และเทคโนโลยี GIS

การบริหารจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ยุคใหม่ ต้องการมากกว่าแค่การติดตามตำแหน่งรถและสถานะของงานขนส่ง ความต้องการลดต้นทุนการขนส่งและความซับซ้อนในซัพพลายเชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่างต้องปรับตัวและใช้โซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มากยิ่งขึ้น

Read More »

Asset Tracking in Transportation ติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง เพิ่มประโยชน์การใช้งาน และมูลค่าสินทรัพย์

ทุกธุรกิจมีสินทรัพย์ที่มีค่า การจัดการสินทรัพย์ คือ กระบวนการดูแลสินทรัพย์ของบริษัทให้สามารถใช้งานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มมูลค่าแก่สินทรัพย์ งานขนส่งก็เช่นกัน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถบรรทุกขนส่ง รถหัวลาก หางรถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ ฯลฯ ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญในการปฏิบัติงานขนส่งและขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าและมั่นคง

Read More »

NOSTRA LOGISTICS TMS จัดสรรทรัพยากรขนส่งและวางแผนเส้นทาง ด้วย Resource Optimization & VRP

การบริหารจัดการทรัพยากรการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ พลังงาน ฯลฯ รวมไปถึงงบประมาณการเงินที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สร้างผลผลิตหรือบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุดและดีที่สุด เป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Read More »

เพิ่มประสิทธิภาพและควบคุมจัดการตู้คอนเทนเนอร์ด้วย NOSTRA LOGISTICS TMS for Container Management Solution

การขนส่งผ่านระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวก เนื่องจากสามารถเปลี่ยนถ่ายพาหนะโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าหรือภาชนะบรรจุ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นการนำเข้า-ส่งออกสินค้า นิยมขนส่งผ่านทางเรือโดยใช้การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นหลัก

Read More »

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th