NOSTRA LOGISTICS แนะกลุ่มค้าปลีกและโลจิสติกส์ ใช้ VRP บริหารจัดการทรัพยากรการขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพงานโลจิสติกส์สูงสุด

นอสตร้า โลจิสติกส์ ผู้พัฒนาโซลูชันและแพลทฟอร์มด้านการบริหารจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ และระบบบริหารจัดการขนส่งอัตโนมัติ หรือ NOSTRA LOGISTICS TMS แนะธุรกิจกลุ่มค้าปลีกและโลจิสติกส์ต่อยอดเสริมกำลัง TMS ด้วย VRP หรือ Vehicle Routing Problem เครื่องมือวางแผนการใช้ทรัพยากรการขนส่งอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลกำไรด้วยการลดต้นทุนขนส่งกว่า 15% โดย NOSTRA LOGISTICS VRP มีจุดเด่นที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี GIS ระดับโลกจากซอฟต์แวร์ “ArcGIS” ผนวกกับข้อมูลแผนที่ Map Service ที่แม่นยำที่สุดในประเทศไทยจาก NOSTRA Map ทำให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลที่แม่นยำ เพื่อขยายขอบเขตความสามารถในการวางแผนจัดเส้นทางการขนส่งและลำดับการจัดส่ง จากที่ตั้งจุดส่งสินค้าหรือจุดกระจายสินค้าไปยังลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความสามารถในการบรรทุกสินค้าของยานพาหนะที่มีอยู่ และสอดคล้องตามข้อจำกัดของทรัพยากร ระยะเวลา และความต้องการของลูกค้า รวมถึงกรณีจัดสรรงานขนส่งให้กับผู้ให้บริการขนส่งหลายราย พร้อมประเมินระยะทางและเวลาการจัดส่งจากเส้นทางจริงอย่างเป็นระบบ ลดเวลาการทำงานแบบ Manual ช่วยแก้ปัญหาการจัดเส้นทาง การเลือกใช้ทรัพยากรการขนส่งได้อย่างคุ้มค่า และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคเพื่อความพึงพอใจสูงสุด

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า ในการทำธุรกิจ ผลกำไร คือ ปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ความสำเร็จ แต่สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ในปัจจุบัน ตั้งแต่ธุรกิจการผลิต ธุรกิจคลังสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่มีการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวเลขของยอดขายไม่ใช่คำตอบเดียวที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้น คือ “การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคลากร ยานพาหนะ พลังงาน เครื่องมือ ฯลฯ รวมไปถึงงบประมาณในการบริหารจัดการธุรกิจที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สร้างผลผลิตหรือบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุดและดีที่สุด

“การพัฒนาแพลทฟอร์มเทคโนโลยีบริหารจัดการงานขนส่ง ที่คำนึงถึงเพียงแค่การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านงานขนส่ง และความสำเร็จในการจัดส่งสินค้าให้ถึงที่หมายเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า ไม่เพียงพออีกต่อไป โดยจากรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.1 ต่อ GDP ของประเทศ แบ่งสัดส่วนออกเป็น ต้นทุนการขนส่งสินค้า 46.1% ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 46.5% และ ต้นทุนการบริหารจัดการอยู่ที่ 7.4% มูลค่ากว่า 2,215 พันล้านบาท มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยจากปี 2562 ตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ตัวเลขต้นทุนโลจิสติกส์ยังคงเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อความต้องการที่ส่งผลให้การบริการขนส่งสินค้าเติบโตอย่างก้าวกระโดด และไม่ได้จำกัดแค่ในกลุ่มธุรกิจ (B2B) แต่ขยายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคโดยตรง ทั้ง B2C และ C2C ความท้าทายจึงอยู่ที่ในขณะที่จุดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นและไม่แน่นอน แต่เวลาที่ใช้ในการส่งสินค้าต้องลดลงให้มากที่สุด ธุรกิจเองต้องปรับตัวให้ทันเพื่อสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นระบบที่ใช้ต้องสามารถเข้ามาช่วยวิเคราะห์ต้นทุน เวลา ประมวลผลเส้นทาง และเลือกใช้ทรัพยากรการขนส่งได้อย่างคุ้มค่าการลงทุนมากที่สุด” นางวรินทรกล่าว

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า ในการทำธุรกิจ ผลกำไร คือ ปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ความสำเร็จ แต่สำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ในปัจจุบัน ตั้งแต่ธุรกิจการผลิต ธุรกิจคลังสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่มีการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ตัวเลขของยอดขายไม่ใช่คำตอบเดียวที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ส่งผลทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและยืนอยู่ได้อย่างยั่งยืน หนึ่งในนั้น คือ “การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด” ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคลากร ยานพาหนะ พลังงาน เครื่องมือ ฯลฯ รวมไปถึงงบประมาณในการบริหารจัดการธุรกิจที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สร้างผลผลิตหรือบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุดและดีที่สุด

“การพัฒนาแพลทฟอร์มเทคโนโลยีบริหารจัดการงานขนส่ง ที่คำนึงถึงเพียงแค่การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานด้านงานขนส่ง และความสำเร็จในการจัดส่งสินค้าให้ถึงที่หมายเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า ไม่เพียงพออีกต่อไป โดยจากรายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.1 ต่อ GDP ของประเทศ แบ่งสัดส่วนออกเป็น ต้นทุนการขนส่งสินค้า 46.1% ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 46.5% และ ต้นทุนการบริหารจัดการอยู่ที่ 7.4% มูลค่ากว่า 2,215 พันล้านบาท มีมูลค่าลดลงเล็กน้อยจากปี 2562 ตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ตัวเลขต้นทุนโลจิสติกส์ยังคงเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อความต้องการที่ส่งผลให้การบริการขนส่งสินค้าเติบโตอย่างก้าวกระโดด และไม่ได้จำกัดแค่ในกลุ่มธุรกิจ (B2B) แต่ขยายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคโดยตรง ทั้ง B2C และ C2C ความท้าทายจึงอยู่ที่ในขณะที่จุดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นและไม่แน่นอน แต่เวลาที่ใช้ในการส่งสินค้าต้องลดลงให้มากที่สุด ธุรกิจเองต้องปรับตัวให้ทันเพื่อสามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นระบบที่ใช้ต้องสามารถเข้ามาช่วยวิเคราะห์ต้นทุน เวลา ประมวลผลเส้นทาง และเลือกใช้ทรัพยากรการขนส่งได้อย่างคุ้มค่าการลงทุนมากที่สุด” นางวรินทรกล่าว

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th