NOSTRA Logistics เผย 5 ความท้าทายของธุรกิจลอจิสติกส์ในสมรภูมิดิสรัปท์ชั่น

NOSTRA Logistics ชี้ธุรกิจลอจิสติกส์กำลังเผชิญกับ 5 ความท้าทาย จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และรูปแบบธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น การระบุภูมิทัศน์ของการดำเนินธุรกิจเปลี่ยน แปลงตลอดเวลา เผยธุรกิจลอจิสติกส์เริ่มมีการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30โดยติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40% เผยธุรกิจ SME ที่รับผลกระทบจากการดิสรัปของเทคโนโลยี  ได้แก่ ธุรกิจประเภท ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการใช้ระบบบริหารจัดการงานขนส่งและวางแผนเส้นทางด้วย Telematics, Internet of Thing (IoT), Big Data Analytics และ Cloud Computing บริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นทั้งเวลา ความเร็ว ความถูกต้อง และมีต้นทุนที่ต่ำลง


ปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี เผยนอสตร้า ลอจิสติกส์ เปิดเผยว่า ในยุคสมรภูมิดีสรัปท์ชันธุรกิจลอจิสติกส์กำลังเผชิญกับ 5 ความท้าทาย จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และรูปแบบธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่ง 5 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ ประกอบไปด้วย

1. ด้านการลดต้นทุนการขนส่ง “เทคโนโลยีและข้อมูล” กำลังมีบทบาทครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการบริหารจัดการงานขนส่งและกลุ่มรถในอุตสาหกรรมการขนส่งและลอจิสติกส์ ประโยชน์ที่เห็นชัดเจน คือ องค์กรที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่าจะได้เปรียบบนสนามแข่งขัน การใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนงานจัดส่งสินค้าและบริหารบุคลากร เพื่อลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่าง ๆ จึงมีความสำคัญ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านั้นต่างมีที่มาจากการวางแผนการวิ่งรถ เช่น การวางแผนการจัดสินค้าและการใช้รถ การเลือกเส้นทางขนส่งที่ใช้ระยะทางและเวลาน้อยที่สุด การขับรถในระดับความเร็วที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน การขับรถถูกวิธีไม่เร่งกระชากหรือเร็วเกินกำหนด ก็ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลงได้มากและสามารถยืดเวลาและรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น

2. การบริหารจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีและข้อมูลจะกลายเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งได้เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยได้มีการออกกฎเรื่องการติดตั้งจีพีเอสในรถโดยสารและรถขนส่งเพื่อติดตามและเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนมาได้ 2-3 ปีแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีจีพีเอสอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่บริษัทฯ พบว่าหลังจากที่ได้เปิดตัวเทคโนโลยีโซลูชัน NOSTRA Tele matics ซึ่งทำได้มากกว่าแค่การติดตามรถแบบจีพีเอสทั่วไป เมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัทขนส่งหลายแห่งให้ความสนใจและเริ่มนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) เข้าไปทดลองใช้ในการจัดการงานขนส่ง โดยเทเลเมติกส์เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สื่อสารระหว่างรถขนส่งสินค้าและผู้ควบคุมงานจัดส่ง สามารถรับและส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ การหยุดนิ่ง-จอด การเบรก การแซง ปริมาณน้ำมันที่เหลือ อุณหภูมิห้องเก็บความเย็น ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมด้วย เช่น Internet of Thing, Cloud Service และ Big Data Analytics เพื่อการรับ-ส่งข้อมูล การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ โดยจะได้แหล่งข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ในทุกวันเพื่อการวางแผนการใช้รถและประเมินพฤติกรรมการขับรถเพื่อการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้จากการติดตามและวางแผนการใช้รถที่เหมาะสม

3.การให้บริการพิเศษเฉพาะเซ็กเม้นต์หรือบริการตามความต้องการเฉพาะ (Customized services) ธุรกิจแต่ละประเภทมีความต้องการหรือความมุ่งเน้นของลูกค้าแตกต่างกัน เทคโนโลยีจึงต้องสามารถพัฒนาและต่อยอดเพื่อให้ตรงตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของธุรกิจแต่ละประเภทได้ จีไอเอสได้มีการออกแบบโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจหรือการทำงานของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น โซลูชันสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs) โดยใช้เทคโนโลยีผสานกันระหว่างระบบติดตามรถด้วย GPS Tracking, Telematics, Internet of Thing(IoT) และ Big Data Analytics เพื่อให้ผู้บริหารจัดการรถรับส่งพนักงาน และพนักงานผู้ใช้รถสามารถติดตามข้อมูลรถได้แบบเรียลไทม์ผ่านระบบ NOSTRA Logistics  ในส่วนฟังก์ชันการทำงานครอบคลุมตั้งแต่วางแผนเส้นทางเดินรถจนถึงการออกรายงาน  โดยผู้บริหารรถรับส่งสามารถทำงานบนเว็บแอปพลิเคชันตั้งแต่การสร้างเส้นทางและจุดรับส่งของรถแต่ละคัน การติดตามและตรวจสอบตำแหน่งรถ ณ ปัจจุบัน ระบบการจองรถด้วยตัวเองสำหรับผู้ใช้รถ ตลอดจนรายงานสรุปต่างๆ  สำหรับผู้ใช้รถก็สามารถดูข้อมูลตารางเดินรถพร้อมเส้นทางและจุดจอด ตำแหน่งรถปัจจุบันบนแผนที่ ตำแหน่งจุดจอดรถที่ใกล้ที่สุด และจองรถรับส่งผ่านระบบได้เองด้วยโมบายแอปพลิเคชันของ BOMs

4.การบริหารบุคลากร แรงงานหนุ่มสาวไม่นิยมทำงานในองค์กรที่ไม่เห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี ในธุรกิจด้านการขนส่ง เทคโนโลยีจะมาช่วยบริหารจัดการเวลาทำงานของบุคลากร เช่น พนักงานขับรถต้องขับต่อเนื่องไม่เกิน 4 ชั่วโมง หรืออย่างเช่นในตัวอย่างของโซลูชันสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs)  ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการทำงานของรถรับส่งพนักงานคือ องค์กรมีเครื่องมือที่ใช้สื่อสารเพื่อการจัดบริการรถพนักงาน สามารถติดตามรถได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถวัดผลจากเกณฑ์ที่กำหนดหรือ KPI สำหรับพนักงานขับรถหรือผู้รับจ้างให้บริการรถด้วยข้อมูลที่ได้จากการบันทึกเวลาและพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถที่จัดเก็บไว้ในระบบได้อีกด้วย

5. การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังต่าง ๆ จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ตั้งแต่ปี 2559 ที่ภาครัฐมีโครงการมั่นใจทั่วไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking โดยข้อมูลจากกรมขนส่งทางบกพบว่าเดือนมกราคม 2561 ปัจจุบันมีรถโดยสารและรถบรรทุกที่ติดตั้งระบบ GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 316,562 คัน นอกจากนี้กรมการขนส่งทางบกรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการเดินรถของผู้ประกอบการที่มีความเป็นมืออาชีพ ประวัติการเดินรถดี มีการตรวจสภาพความพร้อมของรถและพนักงานขับรถเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด มีการติดตั้ง GPS Tracking เพื่อการตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่และการใช้ความเร็วของรถได้แบบ Real–time ทำให้ผู้ประกอบการการขนส่งต้องตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการให้บริการของตนเองทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด

“จาก ความท้าทายดังกล่าว ทำให้ธุรกิจลอจิสติกส์เริ่มมีการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30 โดยกรณีศึกษาของบริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยพบว่าการติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40% ด้วยปัจจัยดังกล่าว กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกกฎข้อบังคับให้รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบ Connected GPS ภายในปี 2562 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการเร่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าว โดยภาพรวมธุรกิจลอจิสติกส์ของประเทศไทยเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา มีการติดตั้งระบบแล้วกว่า 30% ซึ่งยังคงเหลืออีกกว่า 70% ที่จะต้องเร่งดำเนินการติดตั้งระบบ Connected GPS” นางสาวปิยวดีกล่าว

ปิยวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption ต่อธุรกิจขนส่งที่สำคัญเกิดในกลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่เรียกว่า Second Party Logistics (2PL) หรือ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นกลุ่มที่เน้นบทบาทในการรับจ้างขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่มุ่งเน้นการจัดการด้านคลังสินค้าและจุดกระจายสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารต้นทุนค่าขนส่ง ขณะที่ผู้ประ กอบการ Third Party Logistics (3PL) หรือ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ครบวงจร ได้มุ่งเน้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้การจัดการคลังสินค้าและจุดกระจายสินค้าเชื่อมต่อกับกิจกรรมการขนส่งอย่างเป็นระบบด้วยการใช้อินเตอร์เน็ต หรือ IoT ช่วยให้การจัดการงานลอจิสติกส์ทั้งระบบมีประสิทธิ ภาพสูงขึ้น รวมถึงการใช้ดิจิทัลช่วยจัดการธุรกิจในพื้นที่ที่ตนเองมีต้นทุนสูงผ่านการทำงานในเครือข่ายพันธมิตร เพื่อลดต้นทุนการขนส่งในส่วนที่จัดการเองได้ยาก ส่งผลให้มีศักยภาพทางธุรกิจมากกว่าผู้ประ กอบการที่ใช้เทคโนโลยีการขนส่งต่ำหรือเน้นการขนส่งแบบดั้งเดิม ดังนั้น ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นที่ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยจัดการงานขนส่ง เพื่อช่วยบริหารด้านต้นทุนขนส่งให้ต่ำลง และลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองให้มากที่สุด เพื่อรองรับตลาดลอจิสติกส์ที่กำลังเติบโตในยุคดิจิทัล เช่น ตลาดอีคอมเมิส ที่ส่งผลโดยตรงกับธุรกิจขนส่ง การปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เทคโนโลยีเข้าสู่รูปแบบ E-Logistics จะนำมาซึ่งโอกาสแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่สามารถปรับตัวได้ทัน

ในยุคสมรภูมิดีสรัปท์ชั่น เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจขนส่ง ได้แก่ ระบบจัดการงานขนส่งและคลังสินค้าด้วย Connected GPS, Telematics, Internet of Things (IoT), Big Data Analytics และ Cloud Computing เหล่านี้ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งเวลา ความเร็ว ความถูกต้อง และมีต้นทุนที่ต่ำลง  ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและพฤติกรรม เช่น ประสิทธิภาพในการใช้รถ และพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปิยวดี กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : http://www.brandage.com/article/11640/gis-

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

ยกระดับการบริหารงานขนส่งและโลจิสติกส์บนระบบ TMS ด้วยข้อมูลแผนที่และเทคโนโลยี GIS

การบริหารจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ยุคใหม่ ต้องการมากกว่าแค่การติดตามตำแหน่งรถและสถานะของงานขนส่ง ความต้องการลดต้นทุนการขนส่งและความซับซ้อนในซัพพลายเชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่างต้องปรับตัวและใช้โซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มากยิ่งขึ้น

Read More »

Asset Tracking in Transportation ติดตามสินทรัพย์งานขนส่ง เพิ่มประโยชน์การใช้งาน และมูลค่าสินทรัพย์

ทุกธุรกิจมีสินทรัพย์ที่มีค่า การจัดการสินทรัพย์ คือ กระบวนการดูแลสินทรัพย์ของบริษัทให้สามารถใช้งานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มมูลค่าแก่สินทรัพย์ งานขนส่งก็เช่นกัน โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถบรรทุกขนส่ง รถหัวลาก หางรถพ่วง ตู้คอนเทนเนอร์ อุปกรณ์ ฯลฯ ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญในการปฏิบัติงานขนส่งและขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้าและมั่นคง

Read More »

NOSTRA LOGISTICS TMS จัดสรรทรัพยากรขนส่งและวางแผนเส้นทาง ด้วย Resource Optimization & VRP

การบริหารจัดการทรัพยากรการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ พลังงาน ฯลฯ รวมไปถึงงบประมาณการเงินที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สร้างผลผลิตหรือบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุดและดีที่สุด เป็นกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินธุรกิจขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

Read More »

เพิ่มประสิทธิภาพและควบคุมจัดการตู้คอนเทนเนอร์ด้วย NOSTRA LOGISTICS TMS for Container Management Solution

การขนส่งผ่านระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวก เนื่องจากสามารถเปลี่ยนถ่ายพาหนะโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าหรือภาชนะบรรจุ ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้นการนำเข้า-ส่งออกสินค้า นิยมขนส่งผ่านทางเรือโดยใช้การขนส่งระบบตู้คอนเทนเนอร์เป็นหลัก

Read More »

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th