จริงหรือไม่ Telematics ลดการสูญเสียทรัพยากรและการบำรุงรักษารถได้ยาวนานอย่างปลอดภัย

จากบทความสองตอนก่อนหน้านี้ (จับตา อุตสาหกรรมขนส่งและยานยนต์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) อย่างไร และ เมื่อโลกเชื่อมต่อความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Telematics) จะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์และธุรกิจขนส่งกำลังปรับตัวรับเทคโนโลยี Telematics เพื่อประโยชน์ที่สำคัญที่สุด 2 ประการ คือ ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการบำรุงรักษายานยนต์และชะลอความสึกหรอของเครื่องยนต์

รถยนต์สำหรับบุคคลทั่วไปมักใช้ Telematics เพื่อรับบริการสื่อสารแบบ On-board ผ่าน Application จากผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ข้อมูลติดตามตำแหน่งรถ ข้อมูลแจ้งการบำรุงรักษารถเมื่อถึงรอบที่กำหนด การประสานงานข้อมูลและการช่วยเหลือต่างๆ เป็นต้น แต่ในธุรกิจขนส่งที่มีรถจำนวนมาก หรือเรียกว่า Fleet vehicles มักจะใช้ Telematics เพื่อบริหารจัดการ ตรวจสอบ สื่อสารและควบคุมการขับรถในแบบ On-board และ Real time ทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานของยานยนต์ ระบุพิกัดตำแหน่ง ติดตามสถานะการขับขี่ และสื่อสารกับรถขนส่งเป็นกลุ่มได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างศูนย์ควบคุมและตัวรถขนส่ง
แล้ว Telematics ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและการบำรุงรักษารถได้อย่างไร ?

ในต่างประเทศ มีคำหนึ่งคำที่มาพร้อมกับคำว่า Telematics นั่นคือ Eco Driving หมายถึง ระบบที่ช่วยให้ผู้ขับขี่รับรู้รูปแบบการขับขี่ของตนเอง ซึ่งมีผลต่อการใช้เครื่องยนต์และการปล่อยมลพิษเข้าสู่สภาพแวดล้อม ทำให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปรับปรุงการขับรถของตนเองเพื่อให้เกิด Eco-Friendly Driving โดยประโยชน์ที่ผู้ขับขี่จะได้รับ คือ

ในแง่ของธุรกิจขนส่ง พฤติกรรมการขับรถที่เสี่ยงอันตรายนอกจากจะทำให้ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ยังมีผลต่อการสึกหรอของเครื่องยนต์และการสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่จำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าขนส่งและการบำรุงรักษารถยนต์เป็นอย่างมาก ดังนั้น Telematics จึงเป็นอุปกรณ์เสริมที่เข้ามาช่วยควบคุมสิ่งเหล่านี้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ เช่น CANBUS เข้ากับระบบประมวลผลภายในของรถยนต์ (ปัจจุบันรถบางรุ่นบางยี่ห้อจะติดตั้งระบบประมวลผลภายในซึ่งสามารถให้ข้อมูลสถานะต่างๆ ของรถคันนั้นได้ เพียงเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Telematics) เพื่อนำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ มาวิเคราะห์ ทำให้เห็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมการขับรถและการบำรุงรักษารถยนต์ ข้อมูลสถานะต่างๆ ของรถยนต์ที่ได้จาก Telematics จะมีความแม่นยำมากกว่าการใช้ค่าประมาณจาก GPS เท่านั้น เช่น ได้ค่าปริมาณการใช้น้ำมันที่แท้จริงจากยานพาหนะ หรือระยะทางจากเลขไมล์รถจริง เป็นต้น นอกจากนี้ยังแสดงค่าอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์มากมาย ได้แก่

จะเห็นได้ว่า การใช้ Telematics ทำให้ได้รับข้อมูลแจ้งเตือนและรายงานที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น มีรายละเอียดของแต่ละปัญหาที่ชัดเจน ทำให้สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ตรงจุด ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งและการบำรุงรักษารถยนต์ได้สูงสุด

ประโยชน์ของ Telematics ทั้งในด้านความปลอดภัย และ Eco-Driving มีส่วนช่วยในการควบคุม จัดการพฤติกรรมการขับรถ และวางแผนการบำรุงรักษารถยนต์ได้โดยตรง พร้อมทั้งมีประโยชน์จากการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data จากระบบ Telematics ที่ธุรกิจไม่ควรพลาด (โปรดติดตามในตอนต่อไป)

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
Rinyapat Sakkamolwich

Rinyapat Sakkamolwich

Business Development & Corporate Marketing Manager

Related

ประเมิน Carbon Footprint ลดมลพิษจากกิจกรรมด้านการเดินทางและการขนส่ง

การเดินทางและการขนส่งเป็นกิจกรรมที่ใช้นำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก จึงถือเป็น 1 ในกิจกรรมหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas – GHG) โดยที่ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และภาคธุรกิจ และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ธุรกิจต่าง ๆ

Read More »

ยกระดับการบริหารงานขนส่งและโลจิสติกส์บนระบบ TMS ด้วยข้อมูลแผนที่และเทคโนโลยี GIS

การบริหารจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ยุคใหม่ ต้องการมากกว่าแค่การติดตามตำแหน่งรถและสถานะของงานขนส่ง ความต้องการลดต้นทุนการขนส่งและความซับซ้อนในซัพพลายเชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่างต้องปรับตัวและใช้โซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มากยิ่งขึ้น

Read More »

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th