จับตาอุตสาหกรรมขนส่งและยานยนต์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) อย่างไร

ขณะที่นักการตลาดและภาคธุรกิจกำลังตื่นเต้นกับคำว่า Internet of Things หรือ IoT เพราะเทคโนโลยีของ IoT นั้นได้สร้างพรมแดนใหม่ของการใช้ข้อมูลและสร้างประสบการณ์ใหม่ที่มีความหลากหลายและล้ำมากไปกว่าเดิมหลายเท่า ทางฝั่งนักเทคโนโลยีต่างก็พัฒนาอุปกรณ์ ระบบ รวมถึงโซลูชั่นต่างๆ เพื่อนำเสนอความสามารถที่เหนือกว่าด้วย IoT เรียกว่าเป็นการต่อยอดนวัตกรรมยุค Internet ที่พลิกโฉมไปหลายวงการเลยทีเดียว

ยุคที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) คือ ยุคที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้เราสามารถสื่อสาร สั่งการ หรือควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ประเภท Smart Deviceและ Application มีการประยุกต์ใช้ IoT ในสิ่งต่างๆ เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์บนร่างกาย เช่น นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ภายในบ้าน ตลอดจนการพัฒนา IoT เพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะ และใช้ IoT ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ในแง่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เช่นกัน

ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งอันที่จริงเกิดขึ้นก่อนจะเกิดกระแส “IoT” อย่างกว้างขวาง ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีนวัตกรรมที่เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายมานานแล้ว เรียกว่า เทเลเมติกส์ (Telematics) เป็นการผสมระหว่างคำว่า Telecommunications และ Informatics โดยกล่าวได้ว่า แท้จริงแล้ว Telematics เป็นส่วนหนึ่งของ Internet of Things ที่เป็นคำและบริบทของเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาภายหลัง เพราะเดิม Telematics อาจจะเชื่อมต่อโดยใช้ USB port หรือ com-port เพื่อส่งถ่ายข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่เมื่อเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาแทนที่ทุกสิ่ง การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ทำได้โดยการติด Bluetooth หรือ Sim card ซึ่งพลิกโฉมการสื่อสารนี้ให้ส่งข้อมูลได้อย่างง่ายดายแบบ Real time

การทำงานภายใต้ Telematics มักจะมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น Telecommunication, Wireless Communications, Electrical Engineering, Computer Science, Vehicular Technologies และ Road Transportation แต่โดยพื้นฐานแล้วอุตสาหกรรมยานยนต์ใช้ Telematics เพื่อการบริการสื่อสารแบบ onboard ผ่าน Application ที่ใช้ในรถยนต์ รถบรรทุก รถบัส และอื่นๆ ที่ติดตั้งอุปกรณ์ GPS ทำให้สามารถระบุตำแหน่งและสื่อสารกับรถยนต์เป็นกลุ่มจำนวนมากได้ และเมื่อเป็น Fleet Telematics ก็จะอ้างถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการและตรวจสอบการทำงานของยานยนต์ พิกัดตำแหน่ง และสถานะการขับขี่ต่างๆ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนควบคุมและรถยนต์

โดยสรุปแล้ว IoT เป็นวิวัฒนาการและการผสมผสานของระบบและเทคโนโลยี มีความสามารถมากกว่าแค่การเชื่อมต่ออุปกรณ์สองตัวให้สื่อสารกัน แต่ยังรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ Cloud Platform หรือ Sensors ต่างๆ นอกจากนี้ IoT ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยีหรือสินค้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การพัฒนา IoTจะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของตลาดในอนาคต ผู้คนจะเกิดความคาดหวังใหม่ๆ ในตัวสินค้าและบริการ เช่นเดียวกับเพิ่มโอกาสในการใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big Data ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีเหล่านี้ จากนี้ไปอุตสาหกรรมยานยนต์จะพลิกโฉมใหม่ มุ่งปรับตัวเข้าสู่นวัตกรรมความอัจฉริยะและความปลอดภัยด้วยการผสานเทคโนโลยี Telematics และ Internet of Things เข้าด้วยกัน

ในตอนต่อไป เราจะนำเสนอให้เห็นว่า ความอัจฉริยะและความปลอดภัยที่เกิดจาก Telematics และ IoT ในอุตสาหกรรมยานยนต์และรถขนส่ง ที่ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปในยุคเทคโนโลยีและการสื่อสาร เป็นอย่างไร

โทรศัพท์ 02-678-0963  ต่อ 3714

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on print
Print
Share on email
Email
juggree Chobchai

juggree Chobchai

Digital designers combine technology and imagination to create media meant to be viewed on a screen or digital interface

Related

ประเมิน Carbon Footprint ลดมลพิษจากกิจกรรมด้านการเดินทางและการขนส่ง

การเดินทางและการขนส่งเป็นกิจกรรมที่ใช้นำมันเชื้อเพลิงเป็นหลัก จึงถือเป็น 1 ในกิจกรรมหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas – GHG) โดยที่ก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และภาคธุรกิจ และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อน ธุรกิจต่าง ๆ

Read More »

ยกระดับการบริหารงานขนส่งและโลจิสติกส์บนระบบ TMS ด้วยข้อมูลแผนที่และเทคโนโลยี GIS

การบริหารจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ยุคใหม่ ต้องการมากกว่าแค่การติดตามตำแหน่งรถและสถานะของงานขนส่ง ความต้องการลดต้นทุนการขนส่งและความซับซ้อนในซัพพลายเชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต่างต้องปรับตัวและใช้โซลูชันที่เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มากยิ่งขึ้น

Read More »

Get in Touch

โปรดระบุความต้องการของท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สงสัยตรงไหน ไม่ต้องเก็บไว้
เรามีทีมงานที่พร้อมจะช่วยตอบทุกคำถามของคุณ

หนังสือให้ความยินยอมสำหรับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท จีไอเอส จำกัด

การเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน

        บริษัท จีไอเอส จำกัด ตระหนักดีว่าท่านมีความประสงค์ที่จะได้รับความปลอดภัยสูงสุดในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญ และ เคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวของท่าน ในการดำเนินการเก็บรวมรวม ใช้ ประมวลผลและเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ที่สามารถระบุตัวตนของท่านได้ อาจรวมถึง ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานภาพสมรส เลขประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ไอดีไลน์ รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หมายเลขไอพีแอดเดรส แม็กแอดเดรส หรือไอดีคุ๊กกี้ หรือข้อมูลอื่นใดที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทฯ จะดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยตามวัตถุประสงค์ที่ท่านได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น ตลอดจนป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยมิได้รับการอนุญาตจากท่านก่อน

การเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

         บริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อประกอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของท่านในฐานะผู้ติดต่อและ/หรือลูกค้า ตามวัตถุประสงค์ที่ปรากฎในตารางด้านล่างนี้ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นการปฏิบัติตามสัญญา กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย

วัตถุประสงค์ในการใช้

ระบุประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

 

ระยะเวลา

เพื่อใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลสินค้าและบริการ ของบริษัทฯ

– ชื่อ สกุล

– เบอร์ติดต่อ

– email

– หน่วยงาน

– ที่อยู่ที่ทำงาน

5 ปี

การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตลอดจนจะป้องกันมิให้มีการนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้โดยพลการ ซึ่งอาจจะมีการเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือตามคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

บริษัทฯ จะเคร่งครัดไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากที่ระบุไว้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากท่าน

สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่าน

ท่านสามารถใช้สิทธิที่เกี่ยวกับข้อมูลของท่านโดยใช้ความเป็นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

  1. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
  2. สิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตนจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นอยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติและสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ รวมทั้งมีสิทธิ ขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นเมื่อสามารถทำได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ หรือ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง เว้นแต่โดยสภาพทางเทคนิคไม่สามารถทำได้
  3. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้  หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
  4. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  5. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ และทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน
  7. สิทธิในการขอถอนความยินยอม ซึ่งท่านสามารถใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ โดยท่านสามารถแจ้งมายังสถานที่ติดต่อ หรือวิธีการติดต่อที่บริษัทฯ แจ้งท่านไว้ในหนังสือฉบับนี้

สถานที่ติดต่อ และวิธีการติดต่อ

ในกรณีที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ หรือ หากมีข้อสงสัยใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของท่าน สามารถติดต่อสอบถามผ่านทางช่องทางที่กำหนดไว้ ดังนี้

บริษัท จีไอเอส จำกัด

ที่อยู่ 202 ถนนนางลิ้นจี่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120

โทรศัพท์:   02-678-0200

อีเมล์:   dpo@cdg.co.th