NOSTRA LOGISTICS ePOD เพิ่ม 3 ฟีเจอร์ใหม่ พร้อมโปรโมชันพิเศษ ช่วยผู้ประกอบการขนส่ง เสริมประสิทธิภาพ-ลดต้นทุน กว่า 50%

นอสตร้า โลจิสติกส์ ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน NOSTRA LOGISTICS ePOD ระบบติดตามการขนส่งบนสมาร์ทโฟนแบบเรียลไทม์ เผยผลตอบรับดี ลุยเพิ่ม 3 ฟีเจอร์ใหม่ ฟีเจอร์สร้างคำสั่งจัดส่งสินค้าแบบเร่งด่วน ในธุรกิจที่มีเวลาการจัดส่งจำกัด ฟีเจอร์ช่วยป้องกันและบำรุงรักษายานพาหนะก่อนและหลังการขับขี่ ตรวจเช็คสภาพรถพร้อมแจ้งซ่อมหรือแจ้งเตือนตรวจสภาพยานพาหนะ และฟีเจอร์บริหารเส้นทางการจัดส่งสินค้าได้อัตโนมัติ จัดการลำดับจุดส่งสินค้าแบบหลายจุด ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา เสริมประสิทธิภาพทำงานเพิ่มขึ้นกว่า 50% ย้ำ NOSTRA LOGISTICS ePOD บริหารขั้นตอนการขนส่งให้เป็นระบบมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการติดตามสินค้ากว่า 60% มุ่งแก้ปัญหาบริหารจัดเก็บข้อมูลการขนส่ง ปรับสู่ Digitalization ลดข้อขัดแย้งด้วยข้อมูลที่ถูกบันทึกระหว่างบริษัทและพนักงานขนส่ง พร้อมอัดโปรโมชันแรง 2 ต่อ! ต่อที่1 สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเก่าและใหม่ ที่เลือกซื้อสิทธิ์ใช้งานระบบตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จ่ายเพียง 50% แบบไม่จำกัดรอบขนส่ง ต่อที่2 ลดราคาค่าใช้บริการรายเดือน Best Sequence 50% เมื่อสมัครใช้งาน ร่วมกับระบบ ePOD ทั้งแพ็คเก็จ Standard และ Pro ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โปรโมชันวันนี้ – 30 กันยายน 2563 นางวรินทร […]

NOSTRA LOGISTICS แนะนำโซลูชันแก้ปัญหาติดตามงานขนส่งแบบครบวงจร

นอสตร้า โลจิสติกส์ เปิดตัว NOSTRA LOGISTICS ePOD หรือ Electronic Proof of Delivery เครื่องมือติดตามการขนส่งและกระจายสินค้าด้วย GPS Tracking on Mobile ช่วยการจัดการ วางแผน และแก้ปัญหาการติดตามงานขนส่ง นอสตร้า โลจิสติกส์ เดินเกมรุกส่งแอปพลิเคชัน NOSTRA LOGISTICS ePOD ติดตามการขนส่งบนสมาร์ทโฟนเรียลไทม์ ปิดงานขนส่งได้ครบจบในแอปฯ เดียว ช่วยวางแผนธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการติดตามสินค้าได้กว่า 60% มุ่งแก้ Pain Point สร้างโอกาสใหม่ให้ตลาดเทคโนโลยีโลจิสติกส์ หลังพบ COVID-19 ดันธุรกิจขนส่งและอีคอมเมิร์ซ เติบโต 35% พุ่ง 6.6 หมื่นล้านบาท เฉพาะเดือนเมษายนที่ผ่านมามียอดใช้บริการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 5-10 เท่า จากวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าออนไลน์ขยายออกไปในวงกว้างและกลายเป็น New Normal ของผู้บริโภค วรินทร สีสุขดี […]

นอสตร้า โลจิสติกส์ ชี้ โควิด-19 ดันยอดสั่งซื้อออนไลน์โต 80%

นอสตร้า โลจิสติกส์ เผยสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ‘โควิด-19’ ดันยอดสั่งสินค้าออนไลน์ในประเทศโตสวนกระแสถึง 80% ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคหลีกเลี่ยงแหล่ง ช้อปปิ้งแออัด หันไปเลือกสั่งสินค้าออนไลน์ แนะธุรกิจขนส่งเตรียมพร้อมรับมือใช้เทคโนโลยีจัดการและติดตามการขนส่งแบบเรียลไทม์ พร้อมการกำหนดพิกัดอาณาเขตพื้นที่เสี่ยงบนแผนที่ (Geofence) รับมือการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น เพื่อบริหารการจัดส่งสินค้า เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้รับสินค้าทุกการจัดส่ง ในกรณีเกิดปัญหากับเส้นทางจัดส่งสามารถติดตามข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ‘โควิด-19’ ที่กำลังระบาดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มหลีกเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งที่มีผู้คนแออัดและใช้บริการจัดส่งแทน โดยสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เกิดปริมาณการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าในเวลาปกติอย่างมาก สอดคล้องกับผลสำรวจของ กสทช. เปิดเผยว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้งาน แอพฯ ของสำนักงานกสทช. จำนวน 2,554 คน พบว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประชาชนมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมกราคม 2563 เกินกว่า 80% โดยสัดส่วนที่โตขึ้นมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น “ภายใต้วิกฤติดังกล่าวที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อปัจจัยบวกที่ถือว่าเป็นโอกาสต่อวงการโลจิสติกส์และการขนส่ง จากพฤติกรรมผู้บริโภคหันไปเลือกสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ การบริการจัดส่งด่วนมีแนวโน้มกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นมาก นับเป็นโอกาสและความท้าทายของทั้งผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย และธุรกิจขนส่งที่จะเตรียมความพร้อมรับมือทั้งในเรื่องปริมาณการจัดส่งสินค้าจากระบบออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการรับบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งสินค้าจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือในการจัดการและวางแผนการจัดส่งสินค้าที่ดี เพื่อให้การกระจายสินค้าในแต่ละวันเป็นไปอย่างราบรื่น” นางวรินทร กล่าว นางวรินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางด้านเทคโนโลยีระบบบริหารจัดการและติดตามการขนส่ง “นอสตร้า โลจิสติกส์” พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยผู้ประกอบการขนส่งรับมือการขนส่งในระหว่างเกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 แบบตรงจุด ด้วยความสามารถในการจัดการออเดอร์และเส้นทางจัดส่ง เช่น การจัดเส้นทางส่งสินค้าแบบรองรับการส่งสินค้าหลายจุด หรือ Route Optimization for Multidrop ซึ่งระบบสามารถกำหนดจุดส่งสินค้าโดยให้ลำดับการส่งก่อน-หลัง และแนะนำเส้นทางที่สั้นที่สุดตลอดเส้นทางขนส่ง เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่ายมากที่สุด เมื่อกำหนดเส้นทางจัดส่งสำหรับรถแต่คันเรียบร้อย […]

5G ความหวังฝ่าวิกฤติโควิด-19 จุดเปลี่ยนแห่งการปฏิวัติองค์กรสู่ความอยู่รอด

#NOSTRA_LOGISTICS ร่วมเสนอแนะ 5G ความหวังฝ่าวิกฤติโควิด-19 จุดเปลี่ยนแห่งการปฏิวัติองค์กรสู่ความอยู่รอด จะสังเกตได้ว่าการขนส่ง หรือ โลจิสติกส์ ยังคงได้รับความนิยมและจำเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะปกติหรือไม่ก็ตาม แต่การขนส่งในปัจจุบันก็ยังมีอีกหลายจุดที่ควรได้รับการพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความผิดพลาดให้น้อยที่สุดในธุรกิจโลจิสติกส์ สิ่งที่น่าจับตามองคือการใช้เทคโนโลยี 5G อินเทอร์เน็ตความเร็วที่สูงขึ้นจากเดิมถึง 20 เท่า คุณวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ได้กล่าวว่า ธุรกิจที่ดูเหมือนจะไปได้ดีที่สุดในช่วงวิกฤติโควิด-19 เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ก็ต้องเผชิญกับปัญหาการจัดการการขนส่งที่ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ การใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จึงมีบทบาทสำคัญในการอยู่รอดในอนาคตมิใช่น้อย ทั้งในด้าน การเชื่อมต่อพัสดุ โกดังสินค้า บุคลากร ยานพาหนะ และอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตัวอย่างในด้านการขนส่ง เช่น– การควบคุมรถจากระยะไกลแบบไร้คนขับ โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกส่งผ่าน 5G กลับมาที่ผู้ควบคุมรถได้ทันที– การใช้ระบบป้องกันความปลอดภัยในการขับขี่ด้วยกล้อง Advanced Driver Assistance Systems […]

ส่อง 5 เทรนด์เทคโนโลยียกศักยภาพธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ปี 2020

อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันของผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น และยังมีการนำเทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ โมบายแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ มาเป็นตัวช่วยบริการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพงานขนส่งและโลจิสติกส์ ให้สอดคล้องกับกระแสการปรับเปลี่ยนสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องตระหนักเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงหรือเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ นั่นคือ “บริหารต้นทุนให้ต่ำ ทำให้เร็วกว่าเดิม เพิ่มการลงทุนเทคโนโลยี” ซึ่งในแง่ของผู้บริโภคสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือความเร็วในการจัดส่งสินค้า การส่งมอบสินค้าตรงเวลา สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พนักงานให้บริการอย่างมืออาชีพ และผู้รับสินค้ามีความพึงพอใจ ขณะเดียวกันธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทยที่กำลังเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ได้เร่งปรับตัว นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารงานมากขึ้น การแข่งขันจึงไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยี แต่คือการลงทุนเทคโนโลยีด้วยการอ่านเกมให้ขาด ลงทุนให้ถูกจุด เพื่อครองชัยชนะบนสมรภูมิยุค Digital Disruption

นอสตร้า โลจิสติกส์ เผยตลาดโลจิสติกส์โต 20% เดินเกมรุกส่งโปรดักส์ใหม่ตอบโจทย์ตลาด สมาร์ท โลจิสติกส์

นอสตร้า โลจิสติกส์ เผยตลาดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศไทยมีมูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาท มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นปีละ 15-20% จัดเป็นธุรกิจดาวรุ่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมประกาศเดินเกมรุก ลุยสมรภูมิโลจิสติกส์ มุ่งเป้าหมายผู้นำตลาด IoT Logistics ส่ง NOSTRA LOGISTICS Analytics Platform และ Telematics Solution ตอบรับตลาดขาขึ้น เป็นผลิตภัณฑ์เรือธงพร้อมเสริมทัพด้วย GPS Tracking ผลักดันธุรกิจขนส่งสู่ “สมาร์ท โลจิสติกส์” ชูจุดขาย 3S SAFTY เพิ่มความปลอดภัย SAVING ลดการใช้ทรัพยากร และ SATISFACTION สร้างความพึงพอใจสูงสุด เผยภาพรวมสถานการณ์แนวโน้มตลาดขนส่งและโลจิสติกส์ในไตรมาส 4 เป็นไปในทิศทางที่ดีต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการขนส่งจ่อคิวติดตั้งอุปกรณ์ เทเลเมติกส์เชื่อมต่อกับระบบจีพีเอสติดตาม ทั้งกล้องวิดีโอออนไลน์แบบเคลื่อนที่ หรือ MDVR และกล้อง DMS เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถ และช่วยลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ปลื้มผลประกอบการตลอดไตรมาส 3 เติบโต มั่นใจปิดไตรมาส 4 ตามเป้า […]

NOSTRA Logistics เผย 5 ความท้าทายของธุรกิจลอจิสติกส์ในสมรภูมิดิสรัปท์ชั่น

1. ด้านการลดต้นทุนการขนส่ง “เทคโนโลยีและข้อมูล” กำลังมีบทบาทครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการบริหารจัดการงานขนส่งและกลุ่มรถในอุตสาหกรรมการขนส่งและลอจิสติกส์ ประโยชน์ที่เห็นชัดเจน คือ องค์กรที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่าจะได้เปรียบบนสนามแข่งขัน การใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนงานจัดส่งสินค้าและบริหารบุคลากร เพื่อลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่าง ๆ จึงมีความสำคัญ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านั้นต่างมีที่มาจากการวางแผนการวิ่งรถ เช่น การวางแผนการจัดสินค้าและการใช้รถ การเลือกเส้นทางขนส่งที่ใช้ระยะทางและเวลาน้อยที่สุด การขับรถในระดับความเร็วที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน การขับรถถูกวิธีไม่เร่งกระชากหรือเร็วเกินกำหนด ก็ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลงได้มากและสามารถยืดเวลาและรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น 2. การบริหารจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีและข้อมูลจะกลายเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งได้เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยได้มีการออกกฎเรื่องการติดตั้งจีพีเอสในรถโดยสารและรถขนส่งเพื่อติดตามและเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนมาได้ 2-3 ปีแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีจีพีเอสอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่บริษัทฯ พบว่าหลังจากที่ได้เปิดตัวเทคโนโลยีโซลูชัน NOSTRA Tele matics ซึ่งทำได้มากกว่าแค่การติดตามรถแบบจีพีเอสทั่วไป เมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัทขนส่งหลายแห่งให้ความสนใจและเริ่มนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) เข้าไปทดลองใช้ในการจัดการงานขนส่ง โดยเทเลเมติกส์เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สื่อสารระหว่างรถขนส่งสินค้าและผู้ควบคุมงานจัดส่ง สามารถรับและส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ การหยุดนิ่ง-จอด การเบรก การแซง ปริมาณน้ำมันที่เหลือ อุณหภูมิห้องเก็บความเย็น ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมด้วย เช่น Internet of Thing, Cloud Service และ Big Data Analytics เพื่อการรับ-ส่งข้อมูล การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ โดยจะได้แหล่งข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ในทุกวันเพื่อการวางแผนการใช้รถและประเมินพฤติกรรมการขับรถเพื่อการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด […]

IoT ตอน 2 : เมื่อโลกเชื่อมต่อความปลอดภัยบนท้องถนนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Telematics

จากบทความที่แล้ว (จับตา อุตสาหกรรมขนส่งและยานยนต์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) อย่างไร) ได้เล่าถึงความเกี่ยวข้องระหว่างอุตสาหกรรมยานยนต์ และเทคโนโลยี Telematics ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ภายในเครือข่ายก่อนที่สังคมจะเข้าสู่ยุค Internet of Things (IoT) ในบทความนี้ จะมาดูกันต่อว่าเมื่อนำความอัจฉริยะของ Telematics และ IoT มาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และรถขนส่ง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์ได้มากมายเพียงใด แม้ว่าการให้พนักงานขับรถเข้าอบรมการขับขี่ปลอดภัยจะเป็นพื้นฐานแรกเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและช่วยลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ด้วยเทคโนโลยี Telematics สามารถทำได้มากกว่า ทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการขับรถและลดการสูญเสียทรัพยากรเพื่อการบำรุงรักษารถอีกด้วย การใช้ Telematics สามารถตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับรถ และนำผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงการขับรถให้ปลอดภัยมากขึ้น พฤติกรรมการขับรถที่ไม่ปลอดภัย เช่น การเร่งความเร็วกะทันหัน เบรกกะทันหัน เปลี่ยนเลนกะทันหัน และการขับรถด้วยความเร็วสูง เป็นต้น อุปกรณ์ Fatigue Monitoring System เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ Telematics ที่ใช้ Image processing ช่วยแก้ปัญหาความประมาทและอาการหลับในได้ดีที่สุด โดยตรวจจับใบหน้าของผู้ขับรถ เพื่อตรวจสอบความเหนื่อยล้า และการละสายตาออกจากถนน รวมถึงช่วยป้องกันการหลับใน เมื่อตรวจจับพบความผิดปกติบนใบหน้าของผู้ขับรถอุปกรณ์จะแจ้งเตือนให้ผู้ขับรู้ตัวเพื่อระมัดระวัง […]

จับตาอุตสาหกรรมขนส่งและยานยนต์ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) อย่างไร

ขณะที่นักการตลาดและภาคธุรกิจกำลังตื่นเต้นกับคำว่า Internet of Things หรือ IoT เพราะเทคโนโลยีของ IoT นั้นได้สร้างพรมแดนใหม่ของการใช้ข้อมูลและสร้างประสบการณ์ใหม่ที่มีความหลากหลายและล้ำมากไปกว่าเดิมหลายเท่า ทางฝั่งนักเทคโนโลยีต่างก็พัฒนาอุปกรณ์ ระบบ รวมถึงโซลูชั่นต่างๆ เพื่อนำเสนอความสามารถที่เหนือกว่าด้วย IoT เรียกว่าเป็นการต่อยอดนวัตกรรมยุค Internet ที่พลิกโฉมไปหลายวงการเลยทีเดียว ยุคที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) คือ ยุคที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเทอร์เน็ต ทำให้เราสามารถสื่อสาร สั่งการ หรือควบคุมการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ประเภท Smart Deviceและ Application มีการประยุกต์ใช้ IoT ในสิ่งต่างๆ เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์บนร่างกาย เช่น นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ภายในบ้าน ตลอดจนการพัฒนา IoT เพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะ และใช้ IoT ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ในแง่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เช่นกัน ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ซึ่งอันที่จริงเกิดขึ้นก่อนจะเกิดกระแส “IoT” อย่างกว้างขวาง ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีนวัตกรรมที่เป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายมานานแล้ว เรียกว่า เทเลเมติกส์ (Telematics) เป็นการผสมระหว่างคำว่า […]